aeknitiinterlaw
-
ย้อนตำนานตุ๋นลวงโลก
จากแท็กซี่ฮีโร่ สู่ผู้ต้องหาคดี เรื่องเริ่มต้นจาก รปภ.ของสนามบินดอนเมืองชื่อ วิโรจน์ โทรศัพท์เข้าไปแจ้งกับสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน (FM 99.5 MHz) ว่า มีคนขับรถแท็กซี่ (สมพงษ์) เก็บกระเป๋าบรรจุเงินสดของผู้โดยสารต่างประเทศได้และนำมาคืนเจ้าของ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2540 จนได้รับรางวัล และถูกเชิญออกรายการทีวี ฮีโร่ในตอนนั้น หลายหน่วยงานมอบโล่ มอบรางวัล ยกย่องเป็นผู้ซื่อสัตย์แบบอย่างของสังคมไทย แต่การให้สัมภาษณ์คลุมเครือนำไปสู่การตั้งข้อกังขาอยู่หลายเรื่องเช่น [1]และเสียงเทปวิโรจน์กับสมพงษ์มีลักษณคล้ายคลึงกัน ยังพบมีประวัติไปหลอกแต่งงานกับหญิงสาวรายหนึ่ง มีการจัดพิธีวิวาห์ใหญ่โต โดยบอกกับฝ่ายหญิงและครอบครัวว่าตนเองเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต่อมาเมื่อข้อเท็จจริงของแท็กซี่ฮีโร่ถูกขุดคุ้ยจนประจักษ์ชัดจึงถูกแจ้งความดำเนินคดี และยอมรับสารภาพกับตำรวจแต่โดยดีว่าตนเองสร้างเรื่องขึ้นมาทั้งหมด เพราะอยากดังแต่ไม่คิดว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ โดย สมพงษ์ เลือดทหาร ถูกศาลอาญาพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 3 ปี แต่จำเลยให้การรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือ 1 ปี 6 เดือน แต่ด้วยความประพฤติที่เรียบร้อยเป็นนักโทษชั้นดี ทำให้สมพงษ์ติดคุกเพียง 1 ปี 2 เดือน และศาลยังพิพากษาให้คืนเงินรางวัลที่ได้รับมาจำนวนเงินประมาณ 200,500
-
แจ้งความเท็จ
มีความผิด ระวังติดคุก มาตรา 172 แจ้งความเท็จเกี่ยวกับคดีอาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย โทษจำคุก ไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4,000 บาท ทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 173 รู้ว่าไม่มีการทำความผิด แต่แจ้งว่ามีการทำความผิด โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท มาตรา 175 แจ้งความเพื่อจะแกล้ง ให้บุคคลใดต้องถูกบังคับ ตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท “แจ้งความเพื่อจะแกล้ง“ ให้บุคคลใดต้องรับโทษ หรือรับโทษหนักขึ้น โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท ***ปรึกษาปัญหากฎหมาย บริษัท เอกนิติอินเตอร์ลอว์ จำกัด โทร 081-8245999***
-
-
“ฆ่าคนตายเหมือนกันแต่รับ โทษ ต่างกัน”
การประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีและปรับไม่เกิน 200,000 บาท ตามประมวลกฎหมาย อาญมาตรา 291 ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจ้างวานฆ่า วางแผนฆ่า เตรียมการจัดเตรียมยานพาหนะเพื่อใช้ไปฆ่าผู้อื่นต้องระวางโทษประหารชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้ายไม่ทำให้ตายทันทีแต่ทำให้สาหัสจนค่อย…
-
“สมคิด พุ่มพวง” หัวหมอ เรียนรู้พฤติกรรมจากทนาย เพื่อว่าความให้ตัวเอง ในระหว่างที่เขาติดคุก 14 ปี เขาเป็นทนายให้ตัวเองให้การต่อสู้คดีไม่ได้เชื่อใจใคร ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ทุกคนคิดว่าเขาเป็นโรคจิต เป็นฆาตกรต่อเนื่อง แต่นายสมคิดรู้ว่าจะต้องประพฤติตัวอย่างไรให้เป็นนักโทษชั้นเยี่ยมได้ เขาฉลาด เขารู้เลยว่าหลักเกณฑ์ในการเป็นนักโทษชั้นเยี่ยมทำอย่างไรบ้าง จนเขาได้ลดโทษเหลือ 14 ปี โดยก่อนหน้านี้ไม่มีอาชีพอะไร แต่หลังจากติดคุก 14 ปี ออกมาแล้ว เขาไปหลอกชาวบ้านว่าเขาจะวิ่งเต้นคดีให้ เพราะคิดว่าเขามีอาชีพเป็นทนายความ
ปรึกษาปัญหากฎหมาย บริษัท เอกนิติอินเตอร์ลอว์ จำกัด โทร 081-8245999
-
‘นายกฯ แพทองธาร’ เผย กฎหมายสมรสเท่าเทียม จุดเริ่มต้นในการเคารพความหลากหลาย เป็นชัยชนะอคติและการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคม หลังทุกฝ่ายร่วมต่อสู้มากว่า2 ทศวรรษ
”23 มกราคม 2568 วันที่ทุกความรักของคนไทย ถูกรับรองโดยกฎหมาย ❤🌈 กฎหมาย #สมรสเท่าเทียม ผ่านการต่อสู้มากว่า 2 ทศวรรษ เป็น 2 ทศวรรษที่ต้องเผชิญหน้ากับอคติและการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคม ชัยชนะในครั้งนี้จึงถือเป็นความสำเร็จจากความร่วมมือของทุกคน…
-
การพรากผู้เยาว์ถือเป็น “ความผิดทางอาญา” มักเป็นคดีพรากร่วมกับข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา, พาไปเพื่อการอนาจาร, หรือพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์นั้น ถือเป็นความผิดที่ผู้กระทำได้กระทำต่อเสรีภาพของผู้เยาว์ ซึ่งเป็นความผิดอาญา “ไม่สามารถยอมความได้“ แม้ผู้เสียหายจะไม่ได้เป็นผู้ฟ้องหรือร้องทุกข์เอาผิดด้วยตัวเอง แต่เข้าหน้าที่ของรัฐก็สามารถจับตัวผู้กระทำให้มารับโทษได้ ทั้งนี้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 – 319 ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี โดยผู้เยาว์ไม่ได้ให้ความยินยอม ความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี โดยผู้เยาว์ได้ให้ความยินยอม
-
-
ศาลพิพากษาประหารชีวิต “แอมไซยาไนด์” อดีตสามี-ทนายพัชโดนโทษจำคุก
ศาลพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์” ขณะที่ “อดีตสามี-ทนายพัช” โดนโทษจำคุก พร้อมสั่งชดใช้เงินมารดาผู้เสียชีวิต 2.4 ล้านบาท เมื่อเวลา วันที่ 20 พ.ย. 2567 ศาลอ่านคำพิพากษา…