aeknitiinterlaw
-
การประทับฟ้อง คือการ”รับฟ้องไว้พิจารณาต่อไป โดยการที่ศาลมีคำสั่งให้รับคำฟ้องไว้พิจารณา หลังจากที่ศาลพิเคราะห์แล้ว ซึ่งอาจจะโดยไต่สวนมูลฟ้องแล้ว ลงความเห็นว่า คดีที่ฟ้องนั้นมีมูลพอที่จะว่ากล่าวตัดสินให้ได้คำว่า “ประทับฟ้อง” ในภาษาไทยนั้น มีเบื้องหลังมาจากวิธีพิจารณาคดีตามกฎหมายไทยแต่โบราณ คือ พระธรรมศาสตร์ หรือที่ในสมัยต่อมาได้รับการประชุมเข้าเป็น ประชุมกฎหมายรัชกาลที่ 1 ซึ่งมาตรา 1 แห่งพระธรรมนูญ
ปรึกษาปัญหากฎหมาย บริษัท เอกนิติอินเตอร์ลอว์ จำกัด โทร 081-824-5999 เอกนิติอินเตอร์ลอว์ AEKNITIINTERLAW สาระกฎหมายน่ารู้ กดไลน์ กดแชร์ กดซับสไคร จะได้ไม่พลาด เก็บความรู้ดีๆเกี่ยวกับกฎหมาย
-
ความรู้พกพาอาวุธปืนพกปืนไม่ผิดกฎหมาย มีหลักเกณฑ์ 3 ประการ
1ต้องเป็นอาวุธปืนของตน ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ได้ตามกฎหมาย 2มีใบพกพาทั่วราชอาณาจักร หรือในเขตจังหวัด 3มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ กรณีที่ใช้ปืนได้ไม่ผิดกดหมาย 1 ป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน 2 การกีฬา 3 การยิงสัตว์ โทษของการพกปืนมีความผิดมีดังนี้ 1 พกปืนเถื่อน…
-
คนมีบ้าน มีที่ดิน ควรรู้เอาไว้! ภาระจำยอมคืออะไร?ข้อกฎหมายสำคัญของคนมีทรัพย์สินและอสังหาริมทรัพย์
ภาระจำยอมคืออะไร?ภาระจำยอม คือ ผืนหรือแปลงที่ดิน ซึ่งจะต้องตกเป็น ”ภาระ” เพื่อให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ในที่ดินของตน โดยเป็นสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งนี้มีรายละเอียดระบุไว้ในหลายมาตรา ซึ่งโดยหลักแล้วถูกบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๘๗ ความว่า “อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น”ทั้งนี้ ภาระจำยอมนั้นประกอบไปด้วยอสังหาริมทรัพย์…
-
มาตรา 157เจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดดวามเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุกจริตต้องระวางโทษจำตกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บ.ถึง 200,000 บ. หรือทั้งจำทั้งปรับ
” มาตรา 157 เป็นบททั่วไป “” มาตราอื่นๆ เป็นบทเฉพาะ เช่น มาตรา 147-151ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี…
-
ซื้อของออนไลน์โดนโกงต้องทำแบบนี้
หลายคำเตือนว่าจะซื้อของออนไลน์ก็ต้องศึกษาข้อมูลสินค้าให้ดีก่อนซื้อตรวจเช็คร้านค้นว่ามีการจดทะเบียนกับหน่วยงานรัฐหรือเปล่า เครดิตร้านค้าที่จะซื้อเป็นอย่างไร มีความน่าเชื่อถือพอที่จะท าการซื้อสินค้าหรือไม่ แต่หลายครั้งหลายคนก็ยังเจอร้านค้าหรือคนขายที่มีเจตนาที่ไม่สุจริต หลอกโอนเงินหรือหลอกให้จ่ายเงินปลายทางแล้วได้สินค้าที่มีตำหนิบ้าง ของปลอมหรือของไม่ตรงปกมาแทน หนักสุดบางร้านหนีหายไม่ส่งของมาให้ก็มี หากเกินเหตุการณ์แบบนี้แล้วไม่สามารถติดต่อร้านค้าไกล่เกลี่ยกันได้ เราจะต้องด าเนินการอย่างไรต้องเตรียมหลักฐานอะไรบ้างเพื่อนำไปแจ้งความดำเนินคดี โดยในขั้นแรกให้รวบรวมหน้าโปรไฟล์ของร้านค้าลิงก์ URL ของเว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ…
-
สิทธิของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ : หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์
“ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้” เป็นถ้อยคำของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน มาตรา 29 วรรค 2 ที่รับรองหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ (presumption of innocence) ว่าเป็นหนึ่งในสิทธิของปวงชนชาวไทย หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ ตั้งแต่ฉบับปี พ.ศ. 2492 เป็นต้นมา เพียงแต่เขียนข้อความสั้นยาวต่างกันยกเว้นแต่ช่วงที่ใช้ธรรมนูญการปกครองชั่วคราวหลังรัฐประหารไม่ปรากฏหลักการนี้โดยภาพรวมน่าจะถือได้ว่าหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์เป็นธรรมเนียมในรัฐธรรมนูญของประเทศไทยได้แล้ว นอกจากนี้ หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในหลักสิทธิมนุษยชนสากลที่ปรากฏในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งมีประเทศไทยกับอีก 172 ประเทศทั่วโลกเป็นภาคีอีกด้วย ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปวางองค์ประกอบของสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ไว้3 ข้อ 1. ผู้พิพากษาไม่ควรมีความคิดเอนเอียงไปว่าจำเลยได้กระทำความผิด หมายถึง ศาลที่พิจารณาคดีอาญาจะต้องฟังความทั้งฝ่ายโจทก์จำเลยอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คิดล่วงหน้าไปว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด 2. ภาระการพิสูจน์ตกอยู่กับฝ่ายโจทก์ ในคดีอาญา โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด จำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้กระทำความผิด โจทก์มีภาระต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่าจำเลยกระทำความผิด หากพิสูจน์ไม่ได้ ศาลจะยกฟ้องปล่อยตัวจำเลย 3. หากมีข้อสงสัย จำเลยจะได้รับประโยชน์นั้น ในการตัดสินคดีแพ่งหรือคดีอื่น หากฝ่ายใดมีพยานหลักฐานโน้มน้าวให้ศาลเชื่อมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ศาลจะให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้ชนะคดี แต่ในคดีอาญา แม้จำเลยไม่มีพยานหลักฐานใดๆ เลยที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน แต่โจทก์นำเสนอหลักฐานได้ไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ศาลเชื่อว่าจำเลยกระทำความผิด ศาลจะยกฟ้องปล่อยตัวจำเลย เพราะจำเลยได้รับประโยชน์จากความสงสัย ***ปรึกษาปัญหากฎหมาย บริษัท เอกนิติอินเตอร์ลอว์ จำกัด โทร 081-8245999*** #เอกนิติอินเตอร์ลอว์ #AEKNITIINTERLAW #สาระกฎหมายน่ารู้
-
ฟ้องแย้ง ในกฎหมายแปลว่าอะไร
ฟ้องแย้ง คือ คำฟ้องอย่างหนึ่ง แต่เป็น คำฟ้อง ที่ฟ้องมาในคำให้การ (เนื่องจาก ป.วิ.แพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม) กำหนดว่า “จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับ ฟ้องเดิม…
-
ครอบครองปรปักษ์ 10 ปีจะได้สิทธิ์ครอบครอง
หมายถึง การที่บุคคลได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น โดยการครอบครองตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382[1] ซึ่งได้บัญญัติว่า “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์” การที่บุคคลจะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จะต้องปรากฏว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของผู้อื่นที่เจ้าของจะต้องมีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์…
-
นักโทษผู้รอการประหารยาวนานที่สุดในโลก
เมื่อปี 1968 ศาลของญี่ปุ่นมีคำพิพากษาให้นายอิวาโอะ ฮาคามาดะ มีความผิดฐานฆาตกรรมเหยื่อ 4 ราย ซึ่งได้แก่นายจ้างของเขา รวมทั้งภรรยาและลูกของนายจ้างที่เป็นเด็กวัยรุ่นอีกสองคน โดยศาลตัดสินให้ฮาคามาดะต้องรับโทษประหารชีวิต ซึ่งเขาใช้เวลารอคอยการลงโทษทัณฑ์ในเรือนจำนานถึง 46 ปี หรือเกือบครึ่งศตวรรษ ก่อนศาลจะกลับคำตัดสินให้เขาพ้นผิดในที่สุด ฮาคามาดะได้รับการล้างมลทิน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ศาลเพิ่งอนุญาตให้มีการไต่สวนพิจารณาคดีใหม่อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากมีข้อสงสัยว่าพนักงานสอบสวนได้สร้างหลักฐานเท็จ เพื่อให้เขาต้องรับโทษในฐานะฆาตกรคดีฆ่ายกครัว 4 ศพ อย่างไรก็ตาม การรอคอยเพื่อรับโทษประหารเป็นเวลานานหลายสิบปี ได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสภาพจิตใจของฮาคามาดะ จนเขาไม่อาจจะเข้ารับการไต่สวนพิจารณาคดีครั้งล่าสุดในศาลได้ แม้ว่าครั้งนี้ศาลจะมีคำพิพากษาให้เขาพ้นผิดก็ตาม คดีของฮาคามาดะเป็นหนึ่งในมหากาพย์ทางกฎหมายอันโด่งดังและดำเนินมายาวนานที่สุดของญี่ปุ่น
-
สว.อังคณา ไลฟ์ประหารชีวิตนักโทษยาเสพติด ขัดกับ พ.ร.บ. และ ซ้ำเติมความรุนแรง
‘สว.อังคณา’ ไล่ ‘สว.อะมัด’ ไปศึกษากฎหมายเพิ่ม หลังเสนอ ‘ไลฟ์ประหารชีวิตนักโทษยาเสพติด’ ชี้เป็นการผลิตซ้ำ-ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ชี้ ขัด พ.ร.บ.อุ้มหาย ลั่นประหารชีวิตไม่ได้ทำได้ง่ายๆ ต้องมีคำพิพากษา-พยานหลักฐาน ห่วงกลายเป็นเคสใส่ร้ายป้ายสี ฝากถึงนายกฯ ที่เคยพูดจะเด็ดขาด…