พินัยกรรม คืออะไรพินัยกรรม เป็นคำสั่งครั้งสุดท้ายที่แสดงเจตนารมณ์ของบุคคลเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินหรือกิจการต่างๆ ของตนเองหลังเสียชีวิต โดยมีผลบังคับตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตแล้ว ซึ่งการทำพินัยกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมายจะช่วยลดปัญหาข้อพิพาทระหว่างทายาท และช่วยให้มั่นใจได้ว่าทรัพย์สินของเราจะตกถึงมือผู้ที่เราต้องการ (ป.พ.พ. มาตรา 1646 – 1648)

พินัยกรรม คืออะไรพินัยกรรม เป็นคำสั่งครั้งสุดท้ายที่แสดงเจตนารมณ์ของบุคคลเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินหรือกิจการต่างๆ ของตนเองหลังเสียชีวิต โดยมีผลบังคับตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตแล้ว ซึ่งการทำพินัยกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมายจะช่วยลดปัญหาข้อพิพาทระหว่างทายาท และช่วยให้มั่นใจได้ว่าทรัพย์สินของเราจะตกถึงมือผู้ที่เราต้องการ (ป.พ.พ. มาตรา 1646 – 1648)

พินัยกรรมมีกี่แบบ
สำหรับรูปแบบของพินัยกรรมที่กฏหมายรับรอง หลักๆ มีอยู่ 5 รูปแบบ

  1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
    คือการพิมพ์ข้อความลงในกระดาษ ระบุรายการทรัพย์สิน สัดส่วน และผู้รับมรดก ลงวัน เดือน ปี และสถานที่ที่ทำเอกสาร พร้อมกับลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมทุกหน้า ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน และพยานก็ต้องลงลายมือชื่อรับรองด้วย
  2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
    โดยผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนพินัยกรรมทั้งหมดด้วยลายมือตนเอง ลงวัน เดือน ปี และสถานที่ที่ทำเอกสาร พร้อมกำกับลายมือชื่อไว้ด้วย ทั้งนี้ จะมีพยานหรือไม่มีก็ได้ พินัยกรรมรูปแบบนี้ถือว่าสะดวกที่สุด ปลอมแปลงได้ยาก แต่ก็เหมาะกับพินัยกรรมที่มีรายละเอียดไม่มากนัก และควรจะแจ้งคนใกล้ชิดหรือคนที่ไว้ใจไว้ด้วย เพราะหากไม่มีใครรู้ มรดกก็อาจจะไม่ได้ส่งมอบตามที่วางแผนไว้
  3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
    ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งเจ้าพนักงานที่เขตหรืออำเภอ ถึงความต้องการทำพินัยกรรม โดยแจ้งรายละเอียดของทรัพย์สินและผู้รับมรดก เมื่อเจ้าพนักงานรับทราบ ก็จะอ่านข้อความให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานอีกอย่างน้อย 2 คนฟัง เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ผู้ทำพินัยกรรมและพยานก็จะลงลายมือชื่อ อีกทั้งเจ้าพนักงานก็จะลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราตำแหน่ง และระบุวัน เดือน ปี และสถานที่ไว้ด้วย
  4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
    ผู้ทำพินัยกรรมจัดทำเอกสารโดยปิดผนึกไว้ แล้วจึงไปที่เขตหรืออำเภอที่สะดวก โดยผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งพยานอย่างน้อย 2 คน ว่านี่คือพินัยกรรมของตน พร้อมด้วยรายละเอียด จากนั้นให้ลงลายมือชื่อ โดยเจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกถ้อยคำ พร้อมลง วัน เดือน ปี และสถานที่ไว้บนซอง รวมทั้งประทับตราตำแหน่งไว้ ทั้งนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้หน้าซองตรงที่ปิดผนึกด้วย
  5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
    ในกรณีฉุกเฉินหรือมีเหตุไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบอื่นๆ ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายหรือภาวะคับขัน ไม่ว่าการจราจล ภาวะสงคราม ภัยพิบัติ หรือโรคระบาด เป็นต้น ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนาและแจ้งต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ถึงพินัยกรรมที่ต้องการทำและรายละเอียด เมื่อพยานรับทราบแล้วให้ไปแจ้งเจ้าหน้าที่เขตหรืออำเภอโดยเร็วที่สุด พร้อมระบุวัน เดือน ปี สถานที่ทำพินัยกรรมและเหตุที่เกิด โดยเจ้าหน้าที่จะบันทึกข้อความที่พยานแจ้งไว้ และพยานต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยพินัยกรรมแบบที่หนึ่งและแบบที่สอง เป็นรูปแบบที่นิยมเพราะสะดวกและประหยัดเวลา ส่วนแบบที่เหลือ อาจจะยุ่งยากกว่า เพราะมีเจ้าหน้าที่รัฐมาเกี่ยวข้อง มีค่าธรรมเนียม แต่ก็มีน้ำหนัก หากต้องขึ้นเบิกความในศาล
    อย่างไรก็ดี ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีอายุ 15 ปีขึ้นไป ในขณะที่ทำพินัยกรรมต้องมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน ส่วนพยานต้องไม่เป็นผู้เยาว์หรือหย่อนความสามารถ และไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก ทั้งนี้ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ก็สามารถกำหนดในพินัยกรรมได้เช่นกัน วางแผนชีวิตด้วยประกัน ช่วยให้คุณใช้ชีวิตอย่างมั่นใจ และหมดห่วงกับอนาคตของคนที่คุณรักและห่วงใย ปรึกษาปัญหากฎหมาย บริษัท เอกนิติอินเตอร์ลอว์ จำกัด โทร 081-824-5999#เอกนิติอินเตอร์ลอว์#AEKNITIINTERLAW#สาระกฎหมายน่ารู้กดไลน์ กดแชร์ กดซับสไคร จะได้ไม่พลาด เก็บความรู้ดีๆเกี่ยวกับกฎหมาย

thTH