ถ้านายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างเราเรียกกันว่า “การเลิกจ้าง” ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างเราเรียกว่า” การลาออก” ดังนั้น เมื่อทั้งสองพฤติการณ์เป็นการบอกเลิกสัญญาจ้างไม่ว่าการเลิกจ้างหรือการลาออก มีกฎหมายที่เข้ามาคุ้มครองแรงงาน มาตรา 17 ย่อๆว่าการบอกเลิกสัญญาจ้างให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 งวด การจ่ายค่าจ้าง แต่ไม่ต้องบอกกล่าวกันล่วงหน้าเกิน 3 เดือน ต้องมาวิเคราะห์กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยเรื่อง ของการลาออกกันเสียก่อน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 17 บัญญัติว่า “ สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อพิจารณากฎหมายข้างต้นเห็นได้ว่า สัญญาจ้างแรงงานตามมาตรานี้จะมี สองแบบคือ
- สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา
- สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 17 สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน ทั้งนี้ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย
การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้