สิทธิของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ : หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์

สิทธิของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ : หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์

ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้” เป็นถ้อยคำของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน มาตรา 29 วรรค 2 ที่รับรองหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ (presumption of innocence) ว่าเป็นหนึ่งในสิทธิของปวงชนชาวไทย

หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ ตั้งแต่ฉบับปี .. 2492 เป็นต้นมา เพียงแต่เขียนข้อความสั้นยาวต่างกันยกเว้นแต่ช่วงที่ใช้ธรรมนูญการปกครองชั่วคราวหลังรัฐประหารไม่ปรากฏหลักการนี้โดยภาพรวมน่าจะถือได้ว่าหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์เป็นธรรมเนียมในรัฐธรรมนูญของประเทศไทยได้แล้ว

นอกจากนี้ หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในหลักสิทธิมนุษยชนสากลที่ปรากฏในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งมีประเทศไทยกับอีก 172 ประเทศทั่วโลกเป็นภาคีอีกด้วย

ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปวางองค์ประกอบของสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ไว้ข้อ

1. ผู้พิพากษาไม่ควรมีความคิดเอนเอียงไปว่าจำเลยได้กระทำความผิด หมายถึง ศาลที่พิจารณาคดีอาญาจะต้องฟังความทั้งฝ่ายโจทก์จำเลยอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คิดล่วงหน้าไปว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด

2. ภาระการพิสูจน์ตกอยู่กับฝ่ายโจทก์ ในคดีอาญา โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด จำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้กระทำความผิด โจทก์มีภาระต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่าจำเลยกระทำความผิด หากพิสูจน์ไม่ได้ ศาลจะยกฟ้องปล่อยตัวจำเลย

3. หากมีข้อสงสัย จำเลยจะได้รับประโยชน์นั้น ในการตัดสินคดีแพ่งหรือคดีอื่น หากฝ่ายใดมีพยานหลักฐานโน้มน้าวให้ศาลเชื่อมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ศาลจะให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้ชนะคดี แต่ในคดีอาญา แม้จำเลยไม่มีพยานหลักฐานใดๆ เลยที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน แต่โจทก์นำเสนอหลักฐานได้ไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ศาลเชื่อว่าจำเลยกระทำความผิด ศาลจะยกฟ้องปล่อยตัวจำเลย เพราะจำเลยได้รับประโยชน์จากความสงสัย

***ปรึกษาปัญหากฎหมาย บริษัท เอกนิติอินเตอร์ลอว์ จำกัด โทร 081-8245999***

#เอกนิติอินเตอร์ลอว์

#AEKNITIINTERLAW

#สาระกฎหมายน่ารู้

thTH